ประวัติ
มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด





มีแนวทางในการดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิฯ โดยยึดถือแนวคิด ดังนี้

EMPOWER เราพร้อมสนับสนุนผู้พิการทางสายตา
RELIABILITY เราเป็นที่พึ่งพาสำหรับผู้พิการทางสายตา
EQUALITY & EQUITY เราส่งเสริมสังคมที่ทุกคนเท่าเทียมและอยู่ร่วมกันได้
TRUST เรามีความโปร่งใส พร้อมให้ตรวจสอบได้

มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอดก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2536  โดยคุณเพชรัตน์ เตชวัชรา เป็นประธานมูลนิธิฯ และมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้คนตาบอดได้รับการฟื้นฟูทางการแพทย์ การศึกษา การฝึกอาชีพ และให้มีงานทำโดยไม่เป็นภาระต่อสังคม คนตาบอดจำนวนมากต้องเผชิญกับการดำรงชีวิตอยู่ตามต่างจังหวัด ที่ห่างไกลความเจริญ ขาดการศึกษา ขาดอาชีพ พวกเขาถูกทอดทิ้งเป็นผู้ด้อยโอกาสอยู่ที่บ้าน เป็นขอทาน หรืออาศัยพ่อแม่ พี่น้อง อาศัยวัด แต่เขาเหล่านั้นต้องการประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปในสังคม ด้วยเหตุนี้เอง มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด จึงได้จัดตั้ง มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอดขึ้นที่ 77 ถนนจันทน์เก่า ซอย5 แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ ขึ้นในปี 2537 โดยฝึกสอนอาชีพนวดแผนโบราณ ในขณะนี้ซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชน คนตาบอดที่เรียนจบหลักสูตรแล้ว บางส่วนทำงานที่มูลนิธิฯ บางส่วนออกไปประกอบอาชีพด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังมีการเรียนการสอนฝึกอาชีพ นวดฝ่าเท้า, คอมพิวเตอร์, พนักงานรับโทรศัพท์, พยากรณ์โชคชะตา, การเดินทางโดยใช้ไม้เท้า เป็นต้น

          พ.ศ.2541 มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด ร่วมกับ กรมอาชีวศึกษา เปิดสอนหลักสูตร ปวช.และ ปวส.  ขึ้นที่วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด ร่วมกับ กรมการศึกษานอกโรงเรียนเขตยานนาวา เปิดสอน กศน.ม.ต้น และ ม.ปลาย ขึ้นที่มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด และในทุกๆ ปี

          พ.ศ.2550 มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด ร่วมกับสถาบันการแพทย์แผนไทย จัดการสัมมนา เพิ่มศักยภาพหมอนวดผู้พิการทางสายตา โดยเชิญอาจารย์ผู้ที่มีความรู้ในด้านต่างๆ จาก โรงพยาบาลรัฐ และ เอกชน มาให้ความรู้กับผู้พิการทางสายตา

          พ.ศ.2552 มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด ได้รับการรับรองให้เป็นสถาบัน เปิดอบรมหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย (330 ชั่วโมง) พ.ศ.2550 จากคณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย โดยเปิดอบรมไปแล้ว 10 รุ่น มีผู้สำเร็จหลักสูตร ทั้งหมด 349 คน

          พ.ศ.2555 มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด ได้รับการรับรอง ให้เป็นสถาบัน เปิดอบรมหลักสูตร วิชาชีพการนวดไทย (800 ชั่วโมง) พ.ศ.2550 จากคณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย โดยเปิดอบรมไปแล้ว 8 รุ่น มีผู้สำเร็จหลักสูตร 118 คน โดยผู้ที่สำเร็จหลักสูตรนี้ สามารถสอบเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย สาขาการนวดไทย จากสภาการแพทย์แผนไทย โดยผู้ที่สามารถสอบรับใบประกอบวิชาชีพได้ จำนวน 60 คน

          พ.ศ.2559 มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด ได้รับการรับรองให้เป็นสถาบัน เปิดอบรม หลักสูตร นวดไทยเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้พิการทางสายตา (255 ชั่วโมง) ตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เปิดอบรมแล้ว 4 รุ่น มีผู้สำเร็จหลักสูตร 128 คน

          พ.ศ.2562 มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด ได้รับการรับรองให้เป็นสถาบัน เปิดอบรมหลักสูตรนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพสำหรับผู้พิการทางการเห็น (80 ชั่วโมง) ตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เปิดอบรมแล้ว 4 รุ่น มีผู้สำเร็จหลักสูตร 70 คน 

          พ.ศ.2563 มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด เข้าร่วมกิจกรรม ในงาน Blackmores run&Move 2020 เปิดนวดให้กับนักกีฬาที่มาวิ่งมาราธอนในงาน

          มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด ร่วมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ จัดโดยกรมการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข

          พ.ศ.2564 มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด จัดโครงการคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 โดยทักษะทางอาชีพนวดไทย ของผู้พิการทางสายตา ณ มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด สาขาสนามชัยเขต

          พ.ศ.2565 มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอดร่วมกับ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดบูธนวดฟรี ในงานมหกรรมอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล

 “เมื่อเอ่ยถึงคุณเพชรัตน์ เตชวัชรา ที่หลาย ๆ คนเรียกท่านว่า 
น้าเพชร ท่านคือผู้ใหญ่ที่มีความเมตตา สร้างอาชีพให้กับคนตาบอดมากกว่าพันคน เปรียบเสมือนญาติผู้ใหญ่ที่ทุกคนนับถือเป็นอย่างมาก” 

อาจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ 
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรรมการในคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา


 เพลงมาร์ช มูลนิธิฯ ที่ร้องว่า สอนให้เขาหาปลา ดีกว่าให้ปลาเขา นั่นคือ สิ่งที่ท่าน ได้ทำให้กับคนตาบอดทุกคนมาเกือบ 30 ปี 

 

 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้